อบรมภาวนาเย็น เข้าพรรษา ๒๕๖๒
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อุบายภาวนา
การภาวนาทุกว๊านทุกวันนิ<br />
หนึ่งพุทโธ ที่เรานึกภาวนา<br />
มันบ่หายไปไหนได๋ หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ พุทโธที่เราภาวนาบ่ได้ไหไหนนะ<br />
ฉะนั้นอุบายผูกใจสบ๊ายสบายอย่างหนึ่ง<br />
ให้นับเท่ากับอายุ <br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสาม<br />
ครบอายุของตนแล้วนะ จากนี้ก็มาตั้งใจกำหนดภาวนา<br />
ตั้งกายให้มันตรงดำรงสติจำเพราะหน้า <br />
ผูกใจไว้หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ<br />
หายใจเข้าธัมหายใจออกโม หายใจเข้าสังหายใจอออกโฆ<br />
พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ <br />
แล้วก็เหลือไว้แต่พุทโธ อย่างเดียวบาดนิ หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ<br />
หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ พุทโธแล้วมันเกิดความง่วงนอน มันเกิดความอยากหลับ<br />
พุทโธแล้วใจมันฟุ้งซ่านได้ไว้ได้ง่าย ให้นับ <br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสาม<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสี่<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธห้า<br />
ห้าแล้วกำหนดในใจ <br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสี่<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสาม<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br />
หนึ่งแล้วกำหนดรู้แล้วลำดับขึ้นไปใหม่<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br />
หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br />
ถึงห้า ห้าแล้วก็กำหนดใจแล้วก็ลดลงมา <br />
อันนี้ภาวนามันแก้ได้ แก้ความคิดฟุ้งซ่านได้<br />
แก้ความโงกง่วงได้ ง่วงเกินไปให้ลืมตามองไปที่จุดใดจุดหนึ่ง<br />
รวมสายตาไว้พอสมควรแล้วก็ ค่อยๆหลับตาแล้วก็ค่อยๆภาวนา<br />
กำหนดภาวนาของตนไปอันนี้คือภาวนาอย่างหยาบ<br />
ภาวนาอย่างกลางกำหนดแต่ลมหายใจ<br />
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ อันนั้นผู้สติกล้า<br />
ผู้ตั้งมั่นได้ไวนะ นี้อย่างกลางกำหนดรู้ลมหายใจ<br />
นี้เพิ่นฮ้องว่าอานาปานสติ ได้สติคือความรู้ลมหายใจ เข้า ออก<br />
อย่างละเอียดทีนี้ อย่างละเอียดตั้งร่างกายใหม่<br />
เหมือนกับเราวางสิ่งของไว้ ตั้งป๊กไว้ บ่เกี่ยวข้องปวดเจ็บเหน็บมึนชา<br />
เป็นไปเถ๊อะสุดแท้แต่มันจะเป็นไป ตัวเรากำหนดใจอย่างเดียวเป็นผู้รู้<br />
นั่งเป็นผู้รู้อยู่ อันนี้ละเอียดแน่สักน้อยฝึกมานาน ฝึกมานานถึงกำหนดผู้รู้ได้ไว<br />
กำหนดผู้รู้ได้ชัดเจน ถ้าฝึกอย่างหมู่เจ้าทั้งหลายนิให้นับเท่ากับอายุก่อนนะ<br />
เสร็จแล้วกะมาพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ <br />
แล้วก็มา พุทธโธ อย่างเดียว ถ้ามันยังฟุ้งซ่านให้นับ พุทโธ ถึงกับห้า<br />
หลวงปู่แหวน สุจินโน เพิ่นจูงมือจูงพระหัตจูงมือพระเจ้าอยู่หัวล้นเกล้าราชกาลที่ ๙ <br />
ไป๋ไปภาวนามันยุ่งกับคนหลายคน มันยุ่งกับคนเมิดประเทศ มาภาวนาให้เจ้าของ<br />
ไป๋เข้าไปในห้อง นั่งภาวนาหลวงปู่แหวนให้พระเจ้าอยู่หัวหนับ พุทโธ ถึงห้าลดลงมาถึงหนึ่ง<br />
หนึ่งขึ้นไปถึงห้า ใจสุขใจสบายเพราะว่าพระเจ้าอยู่หัวคิด คิดกับคนเมิดประเทศชาติบ้านเมือง<br />
ในการดูแลความปกครองความคิดมากคนใช้ความคิดมากภาวนาต้องขยายออกน้อยหนึ่งนะ<br />
คนที่บ่ใช้ความคิดเอ๊าภาวนามันกะตั้งใจ มั่งคงขึ้นมาทันที มันต่างกันได๋นะฉะนั้นให้พยายาม<br />
ตั้งใจบาดนิ ทีนี่ให้ตั้งใจภาวนาของตน ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติจำเพราะหน้า ย้อนทวนถึงบุญกุศล<br />
ที่เราทำที่เราเพิ่มเติม ที่กล่าวมาให้เห็นนะความมากขึ้น ความปิติขึ้น ความสุขขึ้น ความสบายใจขึ้น<br />
ที่หมู่เจ้าทั้งหลายได้ทำมา ได้ปฏิบัติมาแล้วนะ กล่าวเป็นให้เป็นพยายหลักฐานแค่นั้นละมันรู้ได้อยู่แล้ว<br />
ในใจของหมู่เจ้าทั้งหลาย จากนี้ให้กำหนดภาวนาของใครของตน เอาตั้วใจภาวนาของตนต่อไป
-
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อุบายภาวนา
การภาวนาทุกว๊านทุกวันนิ<br /> หนึ่งพุทโธ ที่เรานึกภาวนา<br /> มันบ่หายไปไหนได๋ หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ พุทโธที่เราภาวนาบ่ได้ไหไหนนะ<br /> ฉะนั้นอุบายผูกใจสบ๊ายสบายอย่างหนึ่ง<br /> ให้นับเท่ากับอายุ <br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสาม<br /> ครบอายุของตนแล้วนะ จากนี้ก็มาตั้งใจกำหนดภาวนา<br /> ตั้งกายให้มันตรงดำรงสติจำเพราะหน้า <br /> ผูกใจไว้หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ<br /> หายใจเข้าธัมหายใจออกโม หายใจเข้าสังหายใจอออกโฆ<br /> พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ <br /> แล้วก็เหลือไว้แต่พุทโธ อย่างเดียวบาดนิ หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ<br /> หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ พุทโธแล้วมันเกิดความง่วงนอน มันเกิดความอยากหลับ<br /> พุทโธแล้วใจมันฟุ้งซ่านได้ไว้ได้ง่าย ให้นับ <br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสาม<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสี่<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธห้า<br /> ห้าแล้วกำหนดในใจ <br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสี่<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสาม<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br /> หนึ่งแล้วกำหนดรู้แล้วลำดับขึ้นไปใหม่<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธหนึ่ง<br /> หายใจเข้าพุทหายใจออกโธสอง<br /> ถึงห้า ห้าแล้วก็กำหนดใจแล้วก็ลดลงมา <br /> อันนี้ภาวนามันแก้ได้ แก้ความคิดฟุ้งซ่านได้<br /> แก้ความโงกง่วงได้ ง่วงเกินไปให้ลืมตามองไปที่จุดใดจุดหนึ่ง<br /> รวมสายตาไว้พอสมควรแล้วก็ ค่อยๆหลับตาแล้วก็ค่อยๆภาวนา<br /> กำหนดภาวนาของตนไปอันนี้คือภาวนาอย่างหยาบ<br /> ภาวนาอย่างกลางกำหนดแต่ลมหายใจ<br /> หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ อันนั้นผู้สติกล้า<br /> ผู้ตั้งมั่นได้ไวนะ นี้อย่างกลางกำหนดรู้ลมหายใจ<br /> นี้เพิ่นฮ้องว่าอานาปานสติ ได้สติคือความรู้ลมหายใจ เข้า ออก<br /> อย่างละเอียดทีนี้ อย่างละเอียดตั้งร่างกายใหม่<br /> เหมือนกับเราวางสิ่งของไว้ ตั้งป๊กไว้ บ่เกี่ยวข้องปวดเจ็บเหน็บมึนชา<br /> เป็นไปเถ๊อะสุดแท้แต่มันจะเป็นไป ตัวเรากำหนดใจอย่างเดียวเป็นผู้รู้<br /> นั่งเป็นผู้รู้อยู่ อันนี้ละเอียดแน่สักน้อยฝึกมานาน ฝึกมานานถึงกำหนดผู้รู้ได้ไว<br /> กำหนดผู้รู้ได้ชัดเจน ถ้าฝึกอย่างหมู่เจ้าทั้งหลายนิให้นับเท่ากับอายุก่อนนะ<br /> เสร็จแล้วกะมาพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ <br /> แล้วก็มา พุทธโธ อย่างเดียว ถ้ามันยังฟุ้งซ่านให้นับ พุทโธ ถึงกับห้า<br /> หลวงปู่แหวน สุจินโน เพิ่นจูงมือจูงพระหัตจูงมือพระเจ้าอยู่หัวล้นเกล้าราชกาลที่ ๙ <br /> ไป๋ไปภาวนามันยุ่งกับคนหลายคน มันยุ่งกับคนเมิดประเทศ มาภาวนาให้เจ้าของ<br /> ไป๋เข้าไปในห้อง นั่งภาวนาหลวงปู่แหวนให้พระเจ้าอยู่หัวหนับ พุทโธ ถึงห้าลดลงมาถึงหนึ่ง<br /> หนึ่งขึ้นไปถึงห้า ใจสุขใจสบายเพราะว่าพระเจ้าอยู่หัวคิด คิดกับคนเมิดประเทศชาติบ้านเมือง<br /> ในการดูแลความปกครองความคิดมากคนใช้ความคิดมากภาวนาต้องขยายออกน้อยหนึ่งนะ<br /> คนที่บ่ใช้ความคิดเอ๊าภาวนามันกะตั้งใจ มั่งคงขึ้นมาทันที มันต่างกันได๋นะฉะนั้นให้พยายาม<br /> ตั้งใจบาดนิ ทีนี่ให้ตั้งใจภาวนาของตน ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติจำเพราะหน้า ย้อนทวนถึงบุญกุศล<br /> ที่เราทำที่เราเพิ่มเติม ที่กล่าวมาให้เห็นนะความมากขึ้น ความปิติขึ้น ความสุขขึ้น ความสบายใจขึ้น<br /> ที่หมู่เจ้าทั้งหลายได้ทำมา ได้ปฏิบัติมาแล้วนะ กล่าวเป็นให้เป็นพยายหลักฐานแค่นั้นละมันรู้ได้อยู่แล้ว<br /> ในใจของหมู่เจ้าทั้งหลาย จากนี้ให้กำหนดภาวนาของใครของตน เอาตั้วใจภาวนาของตนต่อไป -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อิริยาบถกับการทำสมาธิภาวนา
อิริยาบถกับการทำสมาธิภาวนา -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : เพ่งเพียร จึงพากเพียร
เพ่งเพียร จึงพากเพียร<br /> อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๖๒<br /> ถ้าจิตของตนสงบลงแล้ว<br /> ให้หยุดบริกรรมเสียอีก<br /> ให้กำหนดเอาตัวสำคัญทีเดียว คือ “ จิต “<br /> เมื่อกำหนดจิตให้มั่นอยู่ที่ความรู้<br /> เพ่งรวมลงทั้งหมดทีเดียว<br /> พิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา<br /> จนจิตมีความสลดสังเวช<br /> เป็นเหตุให้จิตสงบรวมลงเข้าสู่ภวังค์<br /> คือ ภพของจิต ที่เป็นกามภพบ้าง รูปภพบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง<br /> จิตที่เข้าสู่ภวังค์นั้นมีอาการวุบวับค่อยๆเบาๆบ้าง<br /> เป็นขณะๆแล้วกลับออกบ้าง<br /> เข้าไปตั้งแล้วอยู่ภายในบ้าง<br /> มีความรู้บ้าง ลืมบ้าง<br /> ถ้าสติอ่อนจักลืมตัวบ้าง ไปปรากฏนิมิต<br /> บางทีก็ยึดถือเอานิมิตที่เกิดบ้าง<br /> บางทีลืมกายตนเองบ้าง<br /> บางทีลืมคำบริกรรมภาวนาไปบ้าง<br /> ถ้าจิตเป็นเช่นนั้นจักกลายเป็นโมหสมาธิ หรือมิจฉาสมาธิ<br /> และเป็นมิจฉาวิมุตติบ้าง คือสมาธิหลง สมาธิผิด<br /> พ้นผิดเหตุนั้นเมื่อจิตเป็นสมถะ<br /> ถึงตอนนี้จึงให้ความรู้ตัวอยู่เสมอ<br /> อย่าลืมกายลืมจิต<br /> โดยมากถ้าจิตเข้าสู่ภวังค์บางขณะนั้นมักลืมตัว<br /> และมักปรากฏนิมิตต่างๆ<br /> บางทีก็เกิดอยากเห็นอยากดู<br /> เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว<br /> ก็ยึดถือเอา เกิดความพอใจ<br /> ทำให้จิตลอยไปต่างๆ<br /> เลยไม่พบสมาธิที่ดีที่แน่วแน่แกล้วกล้ามีปัญญา<br /> เพราะนิมิตมากีดกันเสีย<br /> ไม่เกิดวิปัสสนาปัญญาได้<br /> ฉะนั้นจึงให้ปล่อยวางไปเสีย<br /> คือตั้งจิตไว้มิให้หวั่นไหวไปด้วยอาการต่างๆ<br /> ท่านพ่อลี ธมฺมธโร -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อ่านเทศนา อัฏฐังคิกมัคคกถา ของท่านเจ้าคุณฯพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> อ่านเทศนา อัฏฐังคิกมัคคกถา ของท่านเจ้าคุณฯพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ หลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท"<br /> "หลวงปู่จันทร์"<br /> ท่านชื่อจันทร์เหมือนทอแสง อยู่ฟากฟ้า<br /> เหนือนภาที่ส่องแสง อันสุกใส<br /> จิตถึงธรรมคนถึงใจ เหนือสิ่งใด<br /> ท่านเกิดมาเพื่อทำใจ ให้ถึงธรรม…"<br /> ขออภิวาทก้มกราบวันทา ในปฏิปทา และคุณธรรมอันประเสริฐ ขององค์หลวงปู่ ผู้เจนจัดแตกฉาน ในปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวท ในคำสอนแห่งองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ท่านผู้เป็นแบบอย่าง ที่ประเสริฐ ในการดำเนินชีวิต แห่งสมณะ ผู้งดงาม ด้วยจริยาวัตร แลโคจร ท่านผู้มีปัญญาที่ลึกล้ำ และเฉียบคมดุจใบมีด ที่ใช้ตัดรากเหง้า แห่งอาสวะเครื่องดองสันดาน ให้หมดสิ้น<br /> และท่านผู้ยังประโยชน์ตน และประโยชน์ชาวโลก ตลอดกาลนานมา<br /> เกล้าขอก้มกราบวันทา บูชา ในคุณธรรม ที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้วนั้น ด้วยเศียรเกล้า…"<br /> <br /> วันนี้วันที่ ๑๙ กรกฎาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(หลวงปู่จันทร์ สิริจันโท) รำลึก ๘๗ ปี พระอริยเจ้าบูรพาจารย์ผู้ทรงคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นนักปราชญ์เมืองอุบลฯ หนึ่งในสัทธิวิหาริกของ ท่านเทวธัมมี ม้าว ผู้สืบสายการปฏิบัติวงศ์ธรรมยุตินิกายทางภาคอีสานให้แพร่หลาย ท่านเจ้าคุณฯชำนาญทั้งฝ่ายคันธาถุระ และวิปัสสนาธุระ ท่านเป็นผู้ชักชวนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ให้ขึ้นไปเผยแผ่ธรรมทางภาคเหนือ จนได้ลูกศิษย์ทางภาคเหนือเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยัง ยังผลทำให้หลวงปู่มั่น ได้ไปบรรลุธรรมอรหัตผล ณ ถ้ำดอกคำ อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย<br /> <br /> • บูรพาจารย์ผู้เป็นที่ยกย่องของหลวงปู่มั่น<br /> ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(หลวงปู่จันทร์ สิริจันโท) เป็นพระเถระอาวุโสที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ให้ความเคารพเลื่อมใส ดังคำเทศนาที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กล่าวไว้คือ.. “หลวงปู่มั่น เคารพท่านมากนะ เคารพท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ พูดคำไหนๆ แย็บออก รู้ทันที ท่านพูดด้วยความเคารพเลื่อมใส ด้วยความเทิดทูนจริงๆ คือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านหนักทั้งปฏิบัติด้วย ทั้งปริยัติด้วย ท่านเป็นแบบฉบับได้ เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านปริยัตินำกัมมัฏฐาน คือ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์”<br /> <br /> และท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ได้กล่าวยกย่องท่านพระอาจารย์มั่น ไว้ในที่ประชุมสงฆ์ว่า “ท่านมั่นเป็นกัลยาณมิตรควรสมาคม”<br /> <br /> • -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อบรมภาวนาเย็น วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
อบรมภาวนาเย็น วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ -
พระธมฺมโร ครูบาแจ๋ว : อนัตตลักขณสูตร : อ่านพระธรรมเทศนาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> ///อนัตตลักขณสูตร : อ่านพระธรรมเทศนา<br /> ของ<br /> พระอุบาลีคุณูปมาจารย์<br /> หลวงปู่จันทร์ สิริจันโท วัดบรมนิวาส<br /> อนัตตลักขณสูตร<br /> <br /> ครั้นเมื่อถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 (5วันหลังวันอาสาฬหบูชา ที่พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จนพระอัญญาโกณฑัญญะบรรลุโสดาบัน และในวันต่อ ๆ มา คือในวันแรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ 3 ค่ำ และ 4 ค่ำเดือน 8 ทรงแสดง “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ บรรลุโสดาบันตามลำดับ และได้รับเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์เรื่องอนัตตลักขณสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี หลังจากสดับพระธรรมเทศนาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป นับเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรกในพระบวรพุทธศาสนา<br /> <br /> อนัตตลักขณสูตร เป็นพระสูตรที่ยังให้เกิดพระอรหันต์ในคราวเดียวกันถึง 5 องค์ อีกทั้งยังเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรก นับเป็นการลงหลักปักฐานพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งสำคัญ เชื่อถือกันว่า พระสูตรนี้เป็นหนึ่งในพระสูตรสำคัญรวบรวมเอาหัวใจของพระบวรพุทธศาสนาไว้ อย่างครอบคลุม กว้างขวาง จึงขนานนามกันว่าเป็น "ราชาธรรม" เช่นเดียวกับ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรและอาทิตตปริยายสูตร ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ และยังให้บังเกิดการประกาศพระศาสนาครั้งใหญ่ไปทั่วสากลจักรวาล และบังเกิดพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก<br /> <br /> ดังปรากฏในเนื้อความของพระสูตรดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ หรือ พระอาจารย์ผู้ทำสังคายนาร้อยกรองตั้งเป็นพระบาลีไว้ ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายพระสูตรไว้ ดังนี้<br /> <br /> " อิทมโวจ ภควา. อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ. อิมสฺมึ จ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ปญฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ. เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ."<br /> <br /> ความว่า<br /> <br /> "พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์"<br /> <br /> พระสูตรนี้มีใจความโดยย่อดังที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ทรงมีพระนิพนธ์ไว้ดังต่อไปนี้<br /> <br /> ตอนที่ 1 พระบรมศาสดาได้ทรงแสดง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน ถ้าทั้งห้านี้ พึงเป็นอัตตาตัวตน ทั้งห้านี้ก็ถึงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็จะพึงได้ในส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุว่าทั้งห้านี้มิใช่อัตตาตัวตน ฉะนั้น ทั้งห้านี้จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็ย่อมไม่ได้ส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย<br /> <br /> ตอนที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอบความรู้ความเห็นของท่านทั้งห้านั้น ตรัสถามว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านทั้งห้า ทูลตอบว่า ไม่เที่ยง ตรัสถามอีกว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ท่านทั้งห้ากราบทูลว่าเป็นทุกข์ ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นสิ่งนั้น<br /> <br /> ตอนที่ 3 พระพุทธเจ้าได้ตรัสรุปลงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้ที่เป็นส่วนอดีตก็ดี เป็นส่วนอนาคตก็ดี เป็นส่วนปัจจุบันก็ดี เป็นส่วนภายในก็ดี เป็นส่วนภายนอกก็ดี เป็นส่วนหยาบก็ดี เป็นส่วนละเอียดก็ดี เป็นส่วนเลวก็ดี เป็นส่วนประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมดก็สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ควรเป็นด้วยปัญญาชอบตามที่เป็นแล้วว่า นี่ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นี่ นี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา<br /> <br /> ตอนที่ 4 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงผลทีเกิดแก่ผู้ฟังและเกิดความรู้เห็นชอบดั่งกล่าวมานั้นต่อไปว่า อริยสาวก คือ ผู้ฟังผู้ประเสริฐซึ่งได้สดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเกิดนิพพิทา คือ ความหน่ายในรูป หน่ายในเวทนา หน่ายในสัญญา หน่ายในสังขาร หน่ายในวิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมสิ้นราคะ คือ สิ้นความติด ความยินดี ความกำหนัด เมื้อสิ้นราคะ ก็ย่อมวิมุตติ คือ หลุดพ้น เมื่อวิมุตติ ก็ย่อมมีญาณ คือความรู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว และย่อมรู้ว่า ชาติ คือ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นเช่นนี้อีกต่อไป<br /> <br /> ——- -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : ใจเราต้นตอก่อทุกข์สุข
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> ///ใจเราต้นตอก่อทุกข์สุข//// -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : เหตุเกิดแห่งบุญ
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> <br /> เหตุเกิดแหงบุญ<br /> <br /> บุญกุศล: ความแตกต่างระหว่างบุญกับกุศล – ๕<br /> <br /> อนึ่งการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา<br /> หรือทำความดีใดๆ ก็ตาม<br /> แล้วมุ่งเอาความสิ้นอาสวะ<br /> มุ่งพระนิพพาน มุ่งกำจัดกิเลส<br /> ต้องการผลเหมือนกัน<br /> แต่ผลที่ต้องการนั้นคือ<br /> ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง<br /> ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด<br /> มุ่งความสิ้นภพสิ้นชาติ<br /> ..<br /> การทำความดีนั้นเป็นกุศล<br /> เป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน<br /> ..<br /> บุญกับกุศล<br /> มีความต่างกันบ้างเหมือนกัน<br /> ดังกล่าวมานี้<br /> ..<br /> ในส่วนที่เป็นบุญ<br /> ท่านถือว่าเป็นเครื่องข้องอยู่<br /> เพราะยังอำนวยผลเป็นขันธ์<br /> และเป็นกิเลส (อุปธิเวปักกา)<br /> แม้จะเป็นฝ่ายดีก็ตาม<br /> ท่านจึงสอนให้ละเสีย<br /> ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า<br /> <br /> “โยธ ปุญฺญญฺจ บาปญฺจ<br /> อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา<br /> อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ<br /> ตมหํ พูรฺมิ พฺราหฺมณํ<br /> ..<br /> ผู้ใดในโลกนี้ละเครื่องข้องทั้ง ๒<br /> คือบุญและบาปได้แล้ว<br /> เรา (ตถาคต) เรียกผู้นั้น<br /> ผู้ไม่โศก ปราศจากธุลี (คือกิเลส)<br /> บริสุทธิ์แล้วว่า เป็นผู้ประเสริฐ”<br /> (เล่ม ๒๕ ข้อ ๓๖ หน้า ๗๐)<br /> ..<br /> เทวดาเคยกราบทูล<br /> พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า<br /> ..<br /> “ชีวิต อายุ มีน้อย ถูกชรานำไป<br /> เมื่อชรานำชีวิตและอายุไปนั้น<br /> สิ่งไรๆ ก็ต้านทานไม่ได้<br /> ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า<br /> เป็นภัย ในเพราะจะต้องตาย<br /> จึงควรขวนขวาย<br /> เร่งทำบุญทั้งหลาย<br /> อันจะนำสุขมาให้”<br /> ..<br /> พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วย<br /> แต่ตอนสุดท้ายที่เทวดากล่าวว่า<br /> “ควรขวนขวายเร่งทำบุญทั้งหลาย<br /> อันจะนำสุขมาให้” นั้น<br /> ตรัสเสียใหม่ว่า<br /> “ผู้มุ่งความสงบควรละโลกามิสเสีย-<br /> โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข”<br /> (เล่ม ๑๕ ข้อ ๘)<br /> ..<br /> โลกามิสก็คือกามคุณหรือกามารมณ์<br /> และโลกธรรมฝ่ายน่าปรารถนา<br /> คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข<br /> เป็นเหยื่อของโลก<br /> ทำให้สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ จมอยู่<br /> ความทุกข์ก็แฝงเร้นเข้ามา<br /> ยิ่งนานวันก็ยิ่งมีมากขึ้นๆ ทุกที<br /> ..<br /> ยามเยาว์เห็นโลกล้วน แสนสนุก<br /> เป็นหนุ่มสาวก็หลงสุข ค่ำเช้า<br /> กลางคนเริ่มเห็นทุกข์ สุขคู่ กันนอ<br /> ตกแก่จึงรู้เค้า โลกล้วน อนิจจัง<br /> (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br /> กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br /> พ.ศ. ๒๔๙๗ (ทรงนิพนธ์ที่ปีนัง) -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อบรมภาวนาเย็น ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๖๒
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๖๒ -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว :กติกาสงฆ์วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> (กติกาสงฆ์วัดป่าวิเวกวัฒนาราม)<br /> ภัยของพระ<br /> <br /> โลภ โกรธ หลง ๓ ตัวนี้ย่อมเป็นภัยอย่างยิ่งแก่ พระ<br /> <br /> พระ ในที่นี้หมายถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณซึ่งเป็นองค์ภาวนาที่เรารักษาอยู่<br /> <br /> ถ้าเรามีพระ ๓ องค์นี้ผูกคอไว้ ย่อมเป็นเครื่องประกันความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บและไม่ตายได้<br /> <br /> แต่ถ้าตัวโลภ โกรธ หลง เข้ามาแทรกจิตใจของเราเมื่อใด<br /> <br /> พระ ๓ องค์นี้ท่านก็หนีหาย<br /> <br /> ท่านพ่อลี ธมฺมธโร -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : โอวาทวันเข้าพรรษาสอนพระ ๒๕๖๒
-
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : ต้นธรรม ปลายธรรม
อบรมภาวนาเย็นวันเข้าพรรษา<br /> วันที่ ๑๗ กรกฎาคม๒๕๖๒<br /> ///ต้นธรรม ปลายธรรม////<br /> <br /> 🍀พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน🍀<br /> “ประทานปัจฉิมโอวาท”<br /> “เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ไม่ควรคิดว่าพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว<br /> พระศาสดาของเราไม่มี ด้วยแท้ที่จริง ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่ตถาคตแสดง<br /> และบัญญัติไว้ จะเป็นศาสดาแทนตถาคต”<br /> <br /> และได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ตถาคตขอเตือน<br /> เธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย<br /> จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”<br /> <br /> “ภิกษุทั้งหลาย สติ เมื่อเกิดขึ้นก็รู้ว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้<br /> ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลำดับนั้น<br /> พระโยคาวจรก็กำจัดธรรมอันไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาธรรมที่มีประโยชน์<br /> ละธรรมที่ไม่มีอุปการะเสียถือเอาแต่ธรรมที่มีอุปการะ ดังนี้”<br /> <br /> 🍃ดับขันธปรินิพพาน 🍃<br /> เมื่อพระบรมศาสดาประทานปัจฉิมโอวาทเป็นวาระสุดท้ายแล้วก็มิได้ตรัสอะไรอีกเลย<br /> ทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้<br /> ทรงเข้าปฐมฌาน (รูปฌานที่ ๑) ออกจากปฐมฌานแล้ว<br /> ทรงเข้าทุติยฌาน (รูปฌานที่ ๒) ออกจากทุติยฌานแล้ว<br /> ทรงเข้าตติยฌาน (รูปฌานที่ ๓) ออกจากตติยฌานแล้ว<br /> ทรงเข้าจตุตถฌาน (รูปฌานที่ ๔) ออกจากจตุตถฌานแล้ว<br /> ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนะแล้ว<br /> ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนะแล้ว<br /> ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนะแล้ว<br /> ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว<br /> ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ อันเป็น นิโรธสมาบัติ ที่มีอาการสงบที่สุด<br /> ถึงดับสัญญาและเวทนา คือ ไม่รู้สึกทั้งกายทั้งใจทุกประการ แม้ลมหายใจเข้าออก<br /> ก็หยุดสงบยิ่งกว่านอนหลับ จากนั้นเสด็จออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ<br /> ถอยเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือถอยตามลำดับจนถึงปฐมฌาน แล้วย้อนจาก<br /> ปฐมฌานขึ้นไปสู่ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานเป็นลำดับสุดท้าย<br /> จึงดับขันธปรินิพพาน -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : ยากที่สุดคือการรักษาใจ
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> ยากที่สุดคือการรักษาใจ -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : หลักการของการอบรมจิต
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> ////กลักการของการอบรมจิต///<br /> <br /> จิตแหละเป็นตัวนำทุกข์มาให้<br /> ครั้นฝึกฝนดีแล้ว นำความสุขมาให้<br /> อยู่ในโลกนี้ก็มีสุข ความทุกข์ไม่มี<br /> อันนี้มันเป็นธรรมดาของอัตภาพของสภาวะ<br /> มันเป็นเองของมัน ถึงมันจะทุกข์ปานใด<br /> มันก็ไม่มีความเดือดร้อน หวาดเสียวต่อความทุกข์<br /> <br /> – จงปล่อยให้คนอื่นอวดเก่งต่อไป แต่คุณต้องถ่อมตัวอยู่เสมอ<br /> <br /> – คนอื่นพูดมากก็ปล่อยให้เขาพูดไป แต่คุณต้องระมัดระวังในสิ่งที่พูด<br /> <br /> – ปล่อยให้คนอื่นพูดตรง ๆ แต่คุณต้องรู้จักวิธีพูดคุยที่ยืดหยุ่น<br /> <br /> – ขวดน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียวจะทำให้มีเสียงที่น่ารำคาญ<br /> <br /> – ปล่อยให้คนอื่นอวดเก่งต่อไป แต่คุณต้องไม่หยุดพัฒนาตนเอง<br /> <br /> – ปล่อยให้คนอื่นภูมิใจในตนเอง แต่คุณต้องอย่าโอ้อวดตัวเองต่อหน้าคนอื่น<br /> <br /> – ปล่อยให้คนอื่นทำตัวสูงเสียดฟ้า แต่คุณต้องทำตัวติดดินเพื่อใกล้ชิดกับผู้คน<br /> <br /> – จงแสดงให้คนอื่นเห็นว่าพวกเขาคือผู้ชนะแล้วคุณจะได้ประโยชน์จากพวกเขามากขึ้น<br /> <br /> – ต้นไม้ที่มีลำต้นสูงกว่าต้นอื่น ๆ มักจะล้มลง<br /> ได้ง่าย เพราะว่าลมจะพัดโดนมันต้นเดียวจนโค่นล้ม คนที่มีความสามารถโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ก็มักจะถูกคนอื่นอิจฉานินทาและใส่ร้าย การถ่อมตัวในการใช้ชีวิตมันไม่ใช่ แค่ทัศนคติ แต่มันคือหลักปรัชญาสำหรับการใช้ชีวิตไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียงมากขนาดไหน มีอำนาจมากแค่ไหน ร่ำรวยเท่าไร คุณก็ควรที่จะอ่อนน้อมถ่อมตัว ถ้าไม่อย่างนั้น มันก็จะทำให้คุณต้องพบเจอกับปัญหา<br /> <br /> – พื้นที่ที่ต่ำสุดจะกลายเป็นทะเล และคนที่รู้<br /> จักอ่อนน้อมถ่อมตัวก็จะกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในที่สุด บุคคลที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ต่างก็รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็น<br /> อย่างดี ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร จะทำธุรกิจหรือเป็นนักการเมือง คนอื่น ๆ ก็จะให้การยอมรับคุณได้ง่ายขึ้น ถ้าเกิดว่าคุณรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน<br /> <br /> • ศิลปะแห่งการยอมเสียเปรียบ<br /> คือสุขอีกทางหนึ่ง -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : ถ้าปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องจะเกิดสิ่งต่อไปนี้
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> <br /> ถ้าปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องจะเกิดสิ่งต่อไปนี้<br /> <br /> 1. โกรธน้อยลง<br /> เห็นความโกรธเร็วขึ้น<br /> <br /> 2. เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น<br /> ตัดสินถูกผิดน้อยลง<br /> <br /> 3. เห็นความเลวของตนมากขึ้น เห็นความดีของผู้อื่นมากขึ้น<br /> <br /> 4. รับฟังมากขึ้น<br /> อยากอวดภูมิรู้น้อยลง<br /> <br /> 5. ไม่อยากโกหก<br /> หลีกเหลี่ยงการนินทา พูดน้อยลง<br /> <br /> 6. แสวงหาความสุขแบบกามคุณน้อยลง กิน ดื่ม เที่ยว ต้องการสุขแบบโลกๆ น้อยลง<br /> <br /> 7. มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น<br /> ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น<br /> เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น<br /> <br /> 8. ใช้เงินเพื่อตนเองน้อยลง<br /> เพราะความต้องการน้อยลง<br /> <br /> 9. สนใจฟังเรื่องละกิเลส<br /> ไม่ค่อยสนใจเรื่องเพิ่มกิเลส<br /> <br /> 10. ไม่จุกจิกจู้จี้ ไม่ขี้บ่น<br /> ไม่คิดมาก<br /> <br /> 11. ละอายใจเมื่อคิดชั่ว<br /> เมตตามากขึ้น คิดถึงส่วนร่วมมากขึ้น<br /> <br /> 12. รักษาข้าวของเครื่องใช้มากขึ้น แต่ไม่หวงแหน<br /> <br /> 13. ยึดในตัวผู้อื่นน้อยลง<br /> ต้องการความเข้าใจน้อยลง<br /> เป็นอิสระจากผู้อื่นมากขึ้น<br /> <br /> 14. หลับสบาย ไม่ค่อยฝัน ควบคุมเวลาตื่นนอนได้ดังใจ<br /> <br /> 15. ไม่เห็นสิ่งต่างๆ เป็นบวกหรือลบ เห็นเพียงความธรรมดาของโลก<br /> <br /> 16. คลุกคลีกับหมู่คณะตามกาลเทศะ ไม่คลุกคลีตามอำเภอใจ สนใจสำรวจความเลวของตนเอง<br /> <br /> 17. รับรู้ความงามจากธรรมชาติได้มากขึ้น รักต้นไม้มากขึ้น<br /> <br /> 18. ไม่อยากสะสมอะไร มีของเท่าที่จำเป็น<br /> <br /> 19. อยากได้อะไรมักสมหวัง คิดอะไรมักได้ดังใจ<br /> <br /> 20. เห็นปัญหาเป็นเรื่องสนุก ขำขัน มองแล้วยิ้ม<br /> <br /> 21. ไม่ค่อยสนใจคำสรรเสริญนินทา<br /> <br /> 22. เจอคนดีมากขึ้น พบครูผู้ชี้ทางเจริญได้<br /> <br /> 23. ไม่กลัวใคร เห็นทุกคนเป็นเพื่อนเสมอกัน<br /> <br /> 24. ต้องการควบคุมผู้อื่นน้อยลง<br /> ต้องการเปลี่ยนความคิดผู้อื่นน้อยลง มั่นใจตัวเองมากขึ้น<br /> <br /> 25. ค้นพบสิ่งน่าสนใจรอบตัวที่ไม่เคยพบมากก่อน<br /> <br /> 26. คาดเดาอนาคตได้ถูกต้องมากขึ้น<br /> <br /> 27. คิดถึงความตายมากขึ้น เห็นชีวิตแสนสั้นแต่มีคุณค่า<br /> <br /> 28. ความสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น คิดนอกกรอบ<br /> แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ความคิดเป็นระบบมากขึ้น<br /> <br /> 29. ความรู้สึกเหงาหายไป<br /> <br /> 30. อยู่กับลมหายใจได้นานขึ้น ดึงสติกลับมารู้ตัวได้เร็ว -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : คุณของพระราชา
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> ///คุณของพระราชา/// -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : บุคคลผู้อบรมจิตของตนดีแล้ว
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> บุคคลผู้อบรมจิตของตนดีแล้ว -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : ประกาศมหาทานประจำปี
อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒<br /> ///ประกาศมหาทานประจำปี/// -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : อบรมภาวนาเย็นวันพระที่ ๓๑ กรกฏาคม ๒๕๖๒
อบรมภาวนาเย็นวันพระที่ ๓๑ กรกฏาคม ๒๕๖๒ -
พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : เดินตามครู รู้ปรับปรุงตน
เดินตามครู รู้ปรับปรุงตน<br /> อบรมภาวนาเย็น<br /> วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒
No comment yet, add your voice below!